พระปลัดบุญหลง กมฺพุวณฺโณ
(น.ธ.เอก,พธ.บ.)
เจ้าอาวาสวัดโคกมะขาม
พระธรรมทูต
ครูสอนพระปริยัติธรรม
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




ประวัติวัดโคกมะขาม

อ่าน 2190
                       วัดโคกมะขาม  ตำบลตลาดน้อย  อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
      วัดโคกมะขาม  เป็นวัดราษฎร์  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๑  จนปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่  ๑๑๖  หมู่ที่๘  ตำบลตลาดน้อย(ทางคณะสงฆ์ขึ้นตำบลตลาดน้อย)  อำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรี  ตั้งอยู่บนเนื้อที่จำนวน๙ไร่๑งาน๑๐ตารางวา  โฉนดเลขที่๓๕๕๔๗เล่มที่ ๓๕๖ หน้าที่๔๗  โดยมี  นายหยอง    ศรีนุช  และ  นางเจียม  นายใย  นางถมยา   เจริญสุข  ผู้ถวายที่ดินในการสร้างวัดโคกมะขาม และทางวัดโคกมะขามยังได้รับถวายที่ดินอีกจำนน   ๑๑  ไร่ ๑ งาน  ๔๐ ตารางวา (ที่นา ) จาก นายรอด   นางศิริ  สิงห์เถื่อน   โฉนดที่ดินเลขที่๓๓๗๕ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๗๕  ต่อมาได้รับการถวายที่ดินอีก ๑ แปลง จากนายประพันธ์ นางฮ๊อดจำนวน ๗ ไร่ ๒ งาน –ตารางวา ( ที่นา ) โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๖๖๕ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๙  
         จากหนังสือ
          (การสืบค้นสังคมวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลตลาดน้อย  อำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรี)
      บ้านโคกมะขามหมู่ที่๘ตำบลตลาดน้อย  อำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรีมีแหล่งวัฒนธรรม  ประกอบด้วย  ๑. วัดโคกมะขาม  ๒.หมู่บ้านโคกจิกล้อม  ๓. หมู่บ้านโคกกระเดื่อง  ๔. หมู่บ้านโคกขวิด  ๕. โคกกระแตง  วัดโคกมะขาม  ตั้งอยู่บ้านโคกมะขาม  หมู่ที่  ๘  ตำบลตลาดน้อย  อำเภอบ้านหมอ  จังหวัดสระบุรี  ตามที่พบหลักฐานชุมชนที่เข้ามาอยู่ครั้งแรกเป็นชาวไทยพุทธ   ซึ่งพบหลักฐานตามที่ได้สอบถามคนแก่สมัยนั้นว่าคนในหมู่บ้านว่า”วัดโคกมะขาม ตามตำนานว่าความเป็นมาอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่าเดิมทีเดียววัดโคกมะขามนี้มิใช่ชื่อว่าวัดโคกมะขามเดิมชื่อ ว่า “วัดโคกจิกล้อม “จนมากระทั้งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่ในหมู่บ้านได้ย้ายถิ่นฐานตามกันเข้ามา อยู่ที่แห่งใหม่ทำให้บริเวรหมู่บ้านโคกจิกล้อมมีประชาชนน้อยมากคือเหลือ เพียง ๑-๓ หลัง ดังนั้นหลวงปู่สุ่ม สุทฺธสฺสโร ก็ได้ย้ายวัดเข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งใหม่นี้และต่อก็ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หมู่บ้านโคกมะขาม “  เพราะว่าที่แห่งนี้มีต้นมะขามมากบางต้นอายุนับ  ๑๐๐-๒๐๐ ปี โดยรอบบริเวรนี้เป็นที่ราบสูงทั้งหมดและน้ำก็ท่วมไม่ถึงจึงได้ชื่อว่า “หมู่บ้านโคกมะขามมาจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับอำเภอบ้านหมอตามที่ได้เล่ากัน มาว่า  บ้านหมอนี้เคยเป็นที่รักษาโรคภัยใคร่เจ็บครั้งพระพุทธกาลเคยมีหมอชีวกหลาย ท่านได้มาพักอาศัย ณ ที่แห่งนี้เพื่อที่จะได้รักษาโรคให้แก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วย จนได้เป็นที่กล่าวขานกันมาว่าอำเภอบ้านหมอเคยเป็นที่รักษาโรคภัยเมื่อครั้ง พระพุทธกาล จึงได้ชื่อว่า  “บ้านหมอ “มาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นหมู่บ้านโคกมะขามที่ได้รับทราบมาเล่าให้ได้รับทราบความเป็นมาของหมู่ บ้านโคกมะขามและเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มสันดอนซึ่งลาดต่ำลงมา จากที่สูง  ที่เริ่มต้นมาจากอำเภอหนองโดนในสมัยแรกซึ่งเป็นหมู่บ้านกลางทุ่งนาต่อมาได้ ย้ายมาอยู่ที่หมู่ที่ ๘  เป็นบริเวรน้ำท่วมไม่ถึง   อันเป็นความหมายของหมู่บ้านเดิมที่เรียกว่า “บ้านโคกจิกล้อม “     ต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านโดยตัดคำว่า  “จิกล้อม “ออกจึงมีชื่อใหม่ว่า  “บ้านโคกมะขาม “ซึ่งยังคงความหมายไว้
เหมือนเดิม  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  เกษตรกรรม   ทำนา  ทำไร่ทำสวนเป็นส่วนใหญ่
      อาณาเขต  ทิศเหนือติดกับหมู่บ้านและคลองส่งน้ำ  ทิศใต้และทิศตะวันตกต่อติดกับตำบลหรเทพทิศตะวันออกติดกับหมู่บ้านโคกกระท้อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านโพธิ์ทองในปัจจุบัน  และเนื่องจากมีอาณาเขตที่ติดต่อกับหมู่บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๔ วัฒนธรรมประเพณีไทยได้แก่ประเพณีสงกรานต์ประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน  ได้แก่ประเพณีการกวนข้าวทิพย์และประเพณีลอยกระทง เป็นต้นซึ่งทางวัดโคกมะขามได้จัดงานประเพณีขึ้นทุกปี  มาตั้งแต่ปี  ๒๕๐๐  การทำบุญเทศนามหาชาติ  จะมีเทศน์เป็นภาษาพื้นเมืองทั้งทรงเครื่องเพื่อสืบสานประเพณีให้เยาวชนรุ่น หลังได้อนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ให้คงถาวรคู่บ้านคู่เมืองตลอดไป   เป็นต้น 
      ภูมิปัญญาชาวบ้าน  ได้แก่  การจักสาน  และการเกษตรกรรมทางการปลูกเผือกหอม   ปลูกมะม่วง   ปลูกมะพร้าวน้ำหอม   ทำไร่นาสวนผสมที่เป็นรายได้เสริมของชาวบ้านดังนั้นชาวบ้านจึงอยู่กันแบบ อย่างเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นต้น
ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดโคกมะขาม  มีจำนวน ๘ รูป คือ
                                      ๑. พระอาจารย์เปีย                 พ.ศ.๒๔๒๕ ถึง  พ.ศ.๒๔๒๕
                                      ๒. พระอาจารย์เสาร์              พ.ศ.๒๔๒๕ ถึง  พ.ศ.๒๔๓๐
                                      ๓. พระอาจารย์ป้อม               พ.ศ.๒๔๓๐  ถึง  พ.ศ. ๒๔๔๐
                                      ๔. หลวงปู่สุ่ม  สุทฺธสโร       พ.ศ.๒๔๔๐  ถึง  พ.ศ. ๒๔๔๓
                                      ๕. พระอาจารย์เกิด                พ.ศ.๒๔๔๓ ถึง   พ.ศ. ๒๔๔๘
                                      ๖. พระอาจารย์แสง                พ.ศ.๒๔๔๓ ถึง   พ.ศ. ๒๔๘๕
                                      ๗. พระครูพิศิษฏ์สรคุณ         พ.ศ.๒๔๘๕ ถึง   พ.ศ. ๒๕๕๒
                                      ๘. พระครูวินัยธรบุญหลง  กมฺพุวณฺโณ         ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน  พ.ศ.๒๕๕๒  ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  เมื่อวันที่   ๑  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๒   จนถึงปัจจุบัน